ข้อควรรู้เกี่ยวกับ การประกันภัยภาคบังคับ

. วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2552
  • Agregar a Technorati
  • Agregar a Del.icio.us
  • Agregar a DiggIt!
  • Agregar a Yahoo!
  • Agregar a Google
  • Agregar a Meneame
  • Agregar a Furl
  • Agregar a Reddit
  • Agregar a Magnolia
  • Agregar a Blinklist
  • Agregar a Blogmarks

ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ

การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกกันว่า "ประกัน พรบ." เป็นการประกันภัยที่กฏหมายบังคับให้รถทุกคัน ทุกประเภท ต้องทำประกันภัย ใครไม่ทำมีความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พศ. 2535 ต้องถูกปรับเป็นเงินไม่เกิน 10,000 บาท

วัตถุประสงค์หลักของการทำประกันภัยภาคบังคับ

เพื่อให้ความคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งได้รับ ความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย ให้ได้รับการชดใช้ค่าเสียหาย และค่าเสียหายเบื้องต้นอย่าง ทันท่วงที และเป็นหลักประกันแก่สถานพยาบาลทุกแห่งว่าได้รับค่ารักษาพยาบาลในกรณีที่ให้การรักษาแก่ผู้ประสบภัยจากรถแน่นอน

รถที่ต้องทำประกันภัย

รถทุกคันทุกประเภทที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก เป็นยานพาหนะทุกชนิดที่ใช้ในการขนส่งทางบกซึ่งเดินด้วยกำลัง เครื่องยนต์และหมายรวมถึงรถพ่วงของรถนั้นด้วย

ผู้ที่ได้รับความคุ้มครองจากการประกันภัย

ประชาชนทุกคนที่ประสบภัยจากรถ ไม่ว่าจะเป็น ผู้ขับขี่รถ ผู้โดยสาร คนเดินเท้า คนข้ามถนน ซึ่งได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย เนื่องจากรถหรือสิ่งที่บรรทุกหรือติดตั้งไว้ในรถ ทั้งนี้รวมถึงทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยซึ่งถึงแก่ความตายด้วย โดยจะได้รับค่าชดใช้ค่าเสียหายตามกฏหมายนี้ทั้งสิ้น

เงื่อนไขความคุ้มครองผู้ประกันภัย

ได้รับความเสียหายต่อร่างกาย หรืออนามัย แต่ไม่สูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพ บริษัทจะจ่ายค่ารักษาพยาบาล และค่าเสียหายอย่างอื่นที่ผู้ประสบภัยสามารถเรียกร้องได้ตามมูลละเมิด ตามความเสียหายจริงแต่ไม่เกิน 50,000 บาทต่อหนึ่งคน

ได้รับความเสียหายต่อร่างกาย หรืออนามัย บริษัทจะจ่ายเต็มตามจำนวนเงินคุ้มครองสูงสุด 100,000 บาทต่อหนึ่งคน
ตาบอด
หูหนวก
เป็นใบ้ หรือเสียความสามารถในการพูด หรือลิ้นขาด
สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์
เสียแขน ขา มือ เท้า หรืออวัยวะอื่นใด
จิตพิการอย่างถาวร
ทุพพลภาพอย่างถาวร
ในกรณีเสียชีวิต บริษัทจะจ่ายเต็มตามจำนวนเงินคุ้มครองสูงสุด 100,000 บาทต่อหนึ่งคน
ในกรณีได้รับความเสียหายตามข้อ 1 และต่อมาได้รับความเสียหายตามข้อ 2 หรือ 3 หรือทั้งตาม ข้อ 2 และ 3 บริษัทจะจ่ายเต็มตามจำนวนเงินคุ้มครองสูงสุด 100,000 บาทต่อหนึ่งคน

ข้อควรรู้การประกันภัย และ พรบ. การประกันภัย

การโอนรถ กรณีที่รถที่เจ้าของได้เอาประกันภัยไว้กับบริษัทประกันภัย ได้โอนไปยังบุคคลอื่น ให้ผู้ได้มาซึ่งรถดังกล่าวมีฐานะเสมือนเป็นผู้เอาประกันภัยตามกรมธรรม์นั้น และบริษัทประกันต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวต่อไปตลอดอายุของกรมธรรม์ประกันภัยที่ยังเหลืออยู่

ข้อยกเว้นที่การประกันภัยไม่คุ้มครอง

สงคราม การรุกราน การกระทำของชาติศัตรู การสู้รบหรือการปฏิบัติการที่มีลักษณะเป็นการทำสงคราม(จะได้ประกาศสงครามหรือไม่ก็ตาม)
สงครามการเมือง การแข็งข้อของทหาร การกบฎ การปฏิวัติ การต่อต้านรัฐบาล การยึดอำนาจการปกครองโดยกำลังทหารหรือโดยประการอื่น ประชาชนก่อความวุ่นวายถึงขนาดหรือเท่ากับการลุกฮือต่อต้านรัฐบาล
วัตถุอาวุธปรมาณู
การแตกตัวของประจุ การแผ่รังสี การกระทบกัมมันตภาพรังสีจากเชื้อเพลิงปรมาณู หรือจากกากปรมาณูอันเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงปรมาณู และสำหรับจุดประสงค์ข้อสัญญานี้ การเผาไหม้นั้นรวมถึงกรรมวิธีใด ๆ แห่งการแตกแยกปรมาณู ซึ่งดำเนินติดต่อไปด้วยตัวของมันเอง
ความเสียหายที่เกิดจากรถที่ถูกยักยอก ฉ้อโกง กรรโชก ลักทรัพย์ รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์หรือปล้นทรัพย์
การใช้นอกประเทศไทย
การใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย ได้แก่ใช้รถไปปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ หรือใช้ขนยาเสพติด เป็นต้น
การใช้ในการแข่งขัน หรือทดลองความทนทาน หรือความเร็วในทางกีฬา
การใช้โดยบุคคลของอู่ เมื่อรถได้มอบให้อู่ทำการซ่อม เว้นแต่การซ่อมนั้นบริษัทเป็นผู้สั่งหรือให้ความยินยอม
การขับขี่โดยบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับขี่ใด ๆ หรือเคยได้รับแต่ถูกตัดสิทธิตามกฎหมายหรือใช้ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ขับขี่รถยนต์ การขับขี่โดยบุคคลขณะที่อยู่ภายใต้ฤทธิ์สุรายาเมา ถึงขนาดที่ไม่สามารถควบคุมรถได้


ที่มา เว็บไซต์บริษัทสินมั่นคง ประกันภัย